การจัดฟันใส Invisalign คืออะไร?

เครื่องมือจัดฟัน Invisalign® เป็นชุดเครื่องมือจัดฟันแบบใสที่สามารถถอดเข้าออกได้ ทำให้สามารถสังเกตเห็นได้ยากกว่าเครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่นชนิดโลหะ
เครื่องมือนี้จะโอบคลุมตัวฟัน จึงต้องผลิตเพื่อให้เหมาะสมเป็นรายบุคคล โดยผ่านการคำนวณและมีการควบคุมแรงในการเคลื่อนฟัน เพื่อปรับการเรียงฟันของคุณให้อยู่ในตำแหน่งที่สวยงาม

การจัดฟันใส Invisalign คืออะไร?

เครื่องมือจัดฟัน Invisalign® เป็นชุดเครื่องมือจัดฟันแบบใสที่สามารถถอดเข้าออกได้ ทำให้สามารถสังเกตเห็นได้ยากกว่าเครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่นชนิดโลหะ
เครื่องมือนี้จะโอบคลุมตัวฟัน จึงต้องผลิตเพื่อให้เหมาะสมเป็นรายบุคคล โดยผ่านการคำนวณและมีการควบคุมแรงในการเคลื่อนฟัน เพื่อปรับการเรียงฟันของคุณให้อยู่ในตำแหน่งที่สวยงาม

เครื่องมือจัดฟันใส Invisalign®

แทบมองไม่เห็น เป็นมิตรกับไลฟ์สไตล์

ปัญหาที่พบบ่อย

5 ปัญหาการเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติที่พบได้บ่อย ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วย Invisalign®

ฟันซ้อนเก (Overcrowding)

ฟันซ้อนเก เป็นการเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติซึ่งพบได้บ่อย เนื่องจากภายในช่องปากมีพื้นที่ไม่เพียงพอ ส่งผลให้ฟันที่ขึ้นใหม่เรียงตัวเบี้ยวออกไปจากแนวปกติ และอาจเรียงตัวซ้อนทับกัน โดยฟันที่ซ้อนเกนั้นสามารถนำไปสู่การมีสุขอนามัยช่องปากที่แย่ลงได้ หากไม่สามารถทำความสะอาดฟันได้อย่างทั่วถึง

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับฟัน: ฟันซ้อนเกไม่ได้เกิดขึ้นเพราะฟันของเราใหญ่เกินไปสำหรับขากรรไกร แต่เป็นเพราะขากรรไกรเล็กเกินไปสำหรับฟันของเรา

เป็นปกติที่ฟันบนและฟันล่างจะมีระยะเหลื่อมกันเล็กน้อย แต่ในภาวะฟันสบลึกนั้นขากรรไกรบนมีระยะเหลื่อมที่มากกว่าปกติทำให้ฟันบนสบครอบปิดฟันล่าง อาจลึกมากจนฟันบนสบลงบนเหงือกของฟันล่างได้ ภาวะนี้มักเกิดในผู้ที่มีขากรรไกรล่างอยู่ค่อนไปทางด้านหลังกว่าปกติจึงมีผลกระทบต่อรูปทรงของใบหน้าและขากรรไกร ภาวะฟันสบลึกสามารถนำไปสู่การมีพฤติกรรมกัดขบฟันและบดฟันซึ่งอาจทำให้รู้สึกไม่สบายและปวดศีรษะได้

ฟันห่าง หรือ มีช่องว่างระหว่างซี่ฟัน ช่องว่างนี้มักพบได้มากระหว่างฟันคู่หน้าทั้งฟันบนและล่าง มีชื่อเรียกว่า Diastema โดยสาเหตุที่ทำให้เกิด Diastema เช่น:

  • ความไม่สมดุลระหว่างขนาดของฟันและขนาดของขากรรไกร
  • มีการยึดเกาะของเนื้อเยื่อยึดริมฝีปากสูงคั่นระหว่างฟันคู่หน้า (High labial frenum attachment) ในกรณีนี้จึงเหมาะกับการผ่าตัดเนื้อเยื่อยึดเหงือก (Frenectomy) ก่อนการจัดฟันเพื่อปิดช่องว่างระหว่างซี่ฟัน
  • ฟันขึ้นไม่ครบในช่องปาก หรือ ฟันมีขนาดเล็กกว่าปกติ จะสามารถทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันได้
  • พฤติกรรมดูดนิ้วโป้งสมัยเด็กเป็นอีกสาเหตุที่พบได้บ่อยในการทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟัน เนื่องจากเป็นการดันฟันไปข้างหน้าด้วยแรงที่มากกว่าปกติ

ช่องว่าง Diastema ไม่ได้ถูกมองว่าเป็น “ปัญหาทางทันตกรรม” โดยปกติแล้วไม่มีอันตรายและไม่จำเป็นต้องรักษาหรือแก้ไข บางคนมองว่า Diastema นี่แหละที่เป็นจุดเด่น ทำให้รอยยิ้มของตนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ยกตัวอย่างเช่น นักร้องชื่อดัง มาดอนนา

แต่อย่างไรก็ตาม เราก็มักจะได้ยินคำบ่นเวลามีเศษอาหารติดตามช่องว่างระหว่างฟันอยู่บ่อยๆ หรือ บางคนที่เห็นต่างกับความสวยงามข้างต้น ในกรณีนี้การจัดฟันเพื่อปิดช่องว่างระหว่างฟันก็สามารถทำได้

ฟันสบคร่อม หรือ ฟันสบกันแบบไขว้ คือ การที่ฟันหน้าล่างสบคร่อมฟันหน้าบน โดยคนไข้มักจะมาพบทันตแพทย์ด้วยปัญหา “คางของฉันดูยื่น” “ฟันหน้าของฉันสบกระแทกกัน” หรือ “ฉันใช้ฟันหลังเคี้ยวไม่ถนัด”

ฟันสบคร่อมสามารถเกิดได้ทั้งฟันหน้าและฟันหลัง ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา โดยมักเกิดจากความผิดปกติของฟัน หรือ ความผิดปกติของกระดูกขากรรไกร หรือ เกิดร่วมกันทั้งคู่ ซึ่งสาเหตุของความผิดปกติเหล่านี้อาจมาจากโครงสร้างของกระดูก พฤติกรรมช่องปากที่ผิดปกติ ปัญหาระบบทางเดินหายใจ หรือ ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

หากไม่ทำการแก้ไขภาวะฟันสบคร่อม ไม่เพียงแต่จะมีผลกระทบต่อฟันเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดปัญหาเกี่ยวกับขากรรไกรได้เช่นกัน โดยกล้ามเนื้อบดเคี้ยวจะทำงานไม่สม่ำเสมอทำให้เกิดความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร ซึ่งอาจนำไปสู่อาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อขากรรไกร คอ บ่า และไหล่ได้

ฟันกัดเบี้ยว คือ ภาวะที่เส้นกึ่งกลางระหว่างฟันซี่กลางบนและล่าง ไม่ตรงกับเส้นกึ่งกลางใบหน้า หรือ เส้นกึ่งกลางระหว่างฟันซี่กลางบน ไม่ตรงกับเส้นกึ่งกลางระหว่างฟันซี่กลางล่าง จึงส่งผลให้ฟันและใบหน้าไม่สมมาตร

ภาวะฟันกัดเบี้ยว หรือ ฟันซี่กลางไม่ตรงกันสามารถเกิดได้จากหลากหลายปัจจัย เช่น การสูญเสียฟัน ลักษณะทางพันธุกรรม อุบัติเหตุบริเวณใบหน้า หรือ การรับการรักษาที่ไม่เหมาะสม สำหรับการแก้ไขปัญหานี้จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแต่ละเคส แนวทางการรักษาประกอบไปด้วย การแก้ไขโดยการจัดฟัน การบูรณะฟันให้มีรูปร่างสวยงาม หรือ กระทั่งการผ่าตัดขากรรไกร

An open bite is a type of malocclusion (misalignment of teeth) where there is a gap or space between the upper and lower front teeth when the back teeth are closed together. This means that the front teeth do not make contact with each other when the mouth is closed, which can cause difficulty in biting and chewing food, speech problems, and jaw pain. Open bites can be caused by a variety of factors such as thumb sucking, tongue thrusting, genetic factors, or abnormal jaw growth.