การจัดฟันใส MOOV คืออะไร?

หากคุณไม่ต้องการติดเครื่องมือจัดฟันชนิดโลหะ หรือ เสียเงินจำนวนมากสำหรับการจัดฟันแบบใส MOOV ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการจัดฟันแบบใส โดยทุกขั้นตอนของการรักษาด้วย MOOV จะผ่านการวางแผน และดูแลโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดฟันโดยเฉพาะ

การจัดฟันใส MOOV คืออะไร?

หากคุณไม่ต้องการติดเครื่องมือจัดฟันชนิดโลหะ หรือ เสียเงินจำนวนมากสำหรับการจัดฟันแบบใส MOOV ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการจัดฟันแบบใส โดยทุกขั้นตอนของการรักษาด้วย MOOV จะผ่านการวางแผน และดูแลโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดฟันโดยเฉพาะ

เครื่องมือจัดฟันใส MOOV®

รอยยิ้มที่ไร้ขีดจำกัด

ปัญหาที่พบบ่อย

6 ปัญหาการเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติที่พบได้บ่อย ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วย MOOV®

ฟันซ้อนเก (Overcrowding)

ฟันซ้อนเก เป็นการเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติ เนื่องจากขากรรไกรมีพื้นที่ไม่เพียงพอ ส่งผลให้ฟันขึ้นใหม่เรียงตัวซ้อนทับกัน หากทำความสะอาดไม่ทั่วถึงอาจนำไปสู่ปัญหาช่องปากได้

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับฟัน: ฟันซ้อนเกไม่ได้เกิดขึ้นเพราะฟันของเราใหญ่เกินไปสำหรับขากรรไกร แต่เป็นเพราะความผิดปกติของขากรรไกร หรืออาจเกิดจากพันธุกรรม

ในขณะสบฟัน ฟันบนจะสบคร่อมจนมองไม่เห็นฟันล่าง ภาวะนี้มักเกิดในผู้ที่มีขากรรไกรล่างถอยไปทางด้านหลังกว่าปกติจึงมีผลกระทบต่อรูปทรงของใบหน้า และขากรรไกร ฟันสบลึกสามารถนำไปสู่ปัญหาด้านการบดเคี้ยว ทำให้รู้สึกไม่สบาย และปวดศีรษะได้

ฟันห่าง หรือ มีช่องว่างระหว่างซี่ฟัน ช่องว่างนี้มักพบได้มากระหว่างฟันคู่หน้าทั้งฟันบนและล่าง มีชื่อเรียกว่า Diastema โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างซี่ฟัน เช่น:

  • ความไม่สมดุลระหว่างขนาดของฟันและขนาดของขากรรไกร
  • มีการยึดเกาะของเนื้อเยื่อยึดเหงือกสูงคั่นระหว่างฟันคู่หน้า (High labial frenum attachment) ในกรณีนี้จึงเหมาะกับการผ่าตัดเนื้อเยื่อยึดเหงือก (Frenectomy) ก่อนการจัดฟันเพื่อปิดช่องว่างระหว่างซี่ฟัน
  • ฟันขึ้นไม่ครบในช่องปาก หรือ ฟันมีขนาดเล็กกว่าปกติ จะสามารถทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันได้
  • พฤติกรรมดูดนิ้วโป้งสมัยเด็กเป็นอีกสาเหตุที่พบได้บ่อยในการทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟัน เนื่องจากเป็นการดันฟันไปข้างหน้าด้วยแรงที่มากกว่าปกติ

ช่องว่าง Diastema ไม่ได้ถูกมองว่าเป็น “ปัญหาทางทันตกรรม” โดยปกติแล้วไม่มีอันตรายและไม่จำเป็นต้องรักษาหรือแก้ไข บางคนมองว่า “Diastema” คือจุดเด่นที่ทำให้รอยยิ้มมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเหมือนกับนักร้องชื่อดัง มาดอนนา

อย่างไรก็ตาม เรามักได้ยินคำบ่นเวลามีเศษอาหารติดตามช่องว่างระหว่างฟันอยู่บ่อยๆ บางคนที่เห็นต่างกับความสวยงามข้างต้นก็สามารถจัดฟันเพื่อปิดช่องว่างระหว่างฟันได้

ฟันสบคร่อม หรือ ฟันสบกันแบบไขว้ คือ การที่ฟันหน้าล่างสบคร่อมฟันหน้าบน โดยคนไข้มักจะมาพบทันตแพทย์ด้วยปัญหา “คางของฉันดูยื่น” “ฟันหน้าของฉันสบกระแทกกัน” หรือ “ฉันใช้ฟันหลังเคี้ยวไม่ถนัด”

ฟันสบคร่อมสามารถเกิดได้ทั้งฟันหน้าและฟันหลัง ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา โดยมักเกิดจากความผิดปกติของฟัน หรือ ความผิดปกติของกระดูกขากรรไกร หรือ เกิดร่วมกันทั้งคู่ ซึ่งสาเหตุอาจมาจากโครงสร้างของกระดูก พฤติกรรมช่องปากที่ผิดปกติ ปัญหาระบบทางเดินหายใจ หรือ ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
หากไม่ทำการแก้ไขภาวะฟันสบคร่อม ไม่เพียงแต่จะมีผลกระทบต่อฟันเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดปัญหาเกี่ยวกับขากรรไกรได้เช่นกัน โดยกล้ามเนื้อบดเคี้ยวจะทำงานไม่สม่ำเสมอทำให้เกิดความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร ซึ่งอาจนำไปสู่อาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อขากรรไกร คอ บ่า และไหล่ได้

ฟันกัดเบี้ยว คือ ภาวะที่เส้นกึ่งกลางระหว่างฟันซี่กลางบนและล่าง ไม่ตรงกับเส้นกึ่งกลางใบหน้า หรือ เส้นกึ่งกลางระหว่างฟันซี่กลางบน ไม่ตรงกับเส้นกึ่งกลางระหว่างฟันซี่กลางล่าง จึงส่งผลให้ฟันและใบหน้าไม่สมมาตร

ภาวะฟันกัดเบี้ยว หรือ ฟันซี่กลางไม่ตรงกันสามารถเกิดได้จากหลากหลายปัจจัย เช่น การสูญเสียฟัน ลักษณะทางพันธุกรรม อุบัติเหตุบริเวณใบหน้า หรือ การรับการรักษาที่ไม่เหมาะสม สำหรับการแก้ไขปัญหานี้จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแต่ละเคส แนวทางการรักษาประกอบไปด้วย การแก้ไขโดยการจัดฟัน การบูรณะฟันให้มีรูปร่างสวยงาม หรือ กระทั่งการผ่าตัดขากรรไกร

ฟันสบเปิด คือ การมีช่องว่างระหว่างฟันหน้าบนและล่างในขณะที่ฟันหลังสบสนิท หรือหมายถึง ฟันหน้าบนและล่างไม่สามารถสัมผัสแตะกันได้แม้ปิดปาก ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น เป็นลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม การเจริญเติบโตของขากรรไกรที่ผิดปกติ พฤติกรรมดูดนิ้วโป้ง หรือ ลิ้นดุนฟัน เป็นต้น โดยการสบฟันที่ผิดปกตินี้อาจทำให้เกิดปัญหาในการบดเคี้ยวอาหาร การพูด และอาการปวดขากรรไกร