What is the Spin-O-Ring?

If you’re uncertain about what colour O-rings to choose for your brace, let the Spin-O-Ring choose for you!

SmileBox Dental created this tool to help when choosing what colour O-rings to get for your metal braces. Whether you’re uncertain of the colour, or just fancy being spontaneous the Spin-O-Ring will certainly add more excitement to your dental appointment.

What are Fixed Braces? 

Fixed braces (metal braces) are made up of small brackets. These are attached to each tooth and then joined together with a wire. Over time thicker wires are placed and adjusted over time, this creates pressure to help with the movement of the teeth.

การจัดฟันโลหะคืออะไร?

การจัดฟันโลหะ เป็นการจัดฟันชนิดติดแน่น โดยติดเครื่องมือโลหะขนาดเล็ก หรือ แบร็กเก็ต ลงบนผิวฟันแต่ละซี่ และเชื่อมแต่ละชิ้นเข้าด้วยกันด้วยเส้นลวด ทุกครั้งที่มาติดตามผลการรักษาจะมีการปรับขนาดลวดนี้ให้หนาขึ้น เพื่อเสริมแรงในการเคลื่อนฟัน

สปิน-โอ-ริง คืออะไร?

หากคุณเลือกสียางจัดฟันไม่ได้ มาลองให้ สปิน-โอ-ริง ช่วยเลือกให้คุณดูสิ!


คลินิกทันตกรรมสไมล์บ็อกซ์ได้สร้างเกมหมุนวงล้อเลือกสียางจัดฟันนี้ขึ้นมา เพื่อช่วยแก้ปัญหาการเลือกสียางจัดฟันสำหรับการจัดฟันแบบโลหะ ไม่ว่าคุณจะลังเลเลือกสีไม่ได้ หรือ แค่อยากลองเล่นสนุกๆ สปิน-โอ-ริงก็ช่วยเพิ่มความตื่นเต้นให้กับการเปลี่ยนยางจัดฟันของคุณแน่นอน

การจัดฟันโลหะคืออะไร?

การจัดฟันโลหะ เป็นการจัดฟันชนิดติดแน่น โดยติดเครื่องมือโลหะขนาดเล็ก หรือ แบร็กเก็ต ลงบนผิวฟันแต่ละซี่ และเชื่อมแต่ละชิ้นเข้าด้วยกันด้วยเส้นลวด ทุกครั้งที่มาติดตามผลการรักษาจะมีการปรับขนาดลวดนี้ให้หนาขึ้น เพื่อเสริมแรงในการเคลื่อนฟัน

การจัดฟันโลหะทำให้ฟันเคลื่อนได้อย่างไร?

เส้นลวดที่เชื่อมแบร็กเก็ตแต่ละชิ้นเข้าด้วยกัน จะออกแรงดึงฟันให้เคลื่อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการ ดังนั้นทันตแพทย์จัดฟันจึงจะนัดหมายทุกๆ 4 ถึง 10 สัปดาห์เพื่อติดตามความคืบหน้า และทำการปรับเปลี่ยนขนาดลวดให้หนาขึ้นเพื่อเพิ่มแรงในการเคลื่อนฟัน ในบางกรณีอาจใช้ยางดึงฟันเสริมเพื่อปรับตำแหน่งการสบฟัน หรือ ใช้ขดลวดสปริงในการดึงฟันเข้าหากันเพื่อปิดช่องว่างระหว่างซี่ฟัน หรือ เพิ่มพื้นที่ให้การเรียงฟัน

แบร็กเก็ต (Bracket) คืออะไร?

แบร็กเก็ต เป็นอุปกรณ์โลหะทรงสี่เหลี่ยมขนาดเล็กที่ใช้ติดลงบนผิวฟันด้วยกาวชนิดพิเศษ โดยมีหน้าที่เป็นที่ยึดเกาะของอุปกรณ์จัดฟันอื่นๆที่ใช้ในการเคลื่อนฟัน เช่น เส้นลวดอาร์ชไวร์ หรือ ยางจัดฟัน

ลวดอาร์ชไวร์ คือเส้นลวดจัดฟันที่ถูกดัดให้มีลักษณะโค้งไปตามซี่ฟันบนขากรรไกร ใช้เพื่อเชื่อมแบร็กเก็ตแต่ละชิ้นเข้าด้วยกัน และออกแรงเคลื่อนฟันให้เป็นไปตามแนวของลวด

โอ-ริง คือ ยางจัดฟันเส้นเล็กๆ ที่ใช้เกี่ยวบริเวณขอบมุมของแบร็กเก็ตแต่ละตัว เพื่อยึดลวดอาร์ชไวร์ให้ติดอยู่กับแบร็กเก็ต โดยโอ-ริงมีหลากหลายสีให้เลือกสรรทำให้การจัดฟันโลหะไม่น่าเบื่อ และมีสีสันมากยิ่งขึ้น
ถ้าคุณประสบปัญหาในการเลือกสียางจัดฟัน มาลองเล่นเกม สปิน-โอ-ริง ของเราดูสิ!

ยางดึงฟัน คือ ยางที่ใช้คล้องกับแบร็กเก็ตจากขากรรไกรบนไปยังขากรรไกรล่าง เพื่อเพิ่มแรงในการเคลื่อนฟัน และปรับการสบฟันให้ดีขึ้น เมื่อใช้ไปสักพักความยืดหยุ่นของยางจะลดลง จึงต้องเปลี่ยนยางดึงฟันชิ้นใหม่เป็นประจำ

ยางแยกฟัน คือ ยางที่ใส่บริเวณด้านประชิดของฟันเป็นระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อแยกฟันให้ห่างออกจากกันเล็กน้อยก่อนเริ่มการจัดฟัน มักใช้กับฟันกรามใหญ่ ในกรณีที่ฟันอยู่ชิดกับฟันข้างเคียงมากเพื่อให้สวมใส่แถบโลหะที่มีความหนาลงไปโอบล้อมรอบตัวฟันได้

What is a Retainer?

Retainers are used after completing your orthodontic treatment. They are used to hold (retain) your teeth in place. They are an essential part of successful orthodontic treatment. Teeth naturally have fibres in them that help them attach to the bone, as the teeth are moved by the braces, these fibres get stretched. Therefore once the braces are removed, naturally the fibres want to pull the teeth back to their old position.

Retainers help prevent this and allow time for the tooth fibres to settle into their new position. The longer you wear your retainers, the less likely your teeth will relapse to their old position!

รีเทนเนอร์ คืออะไร?

รีเทนเนอร์เป็นเครื่องมือสำหรับคงตำแหน่งของฟันไม่ให้เคลื่อนที่กลับเมื่อการจัดฟันเสร็จสิ้น เนื่องจากเส้นใยที่ยึดระหว่างฟัน และกระดูกเบ้าฟันถูกยืดออกจากแรงดึงฟัน เมื่อนำแบร็กเก็ตออก และไม่มีแรงมากระทำอีกต่อไป เส้นใยยึดฟันนี้จะพยายามดึงฟันกลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิม

เมื่อใส่รีเทนเนอร์หลังจัดฟันเสร็จสิ้นมาเป็นระยะเวลานาน เส้นใยยึดฟันจะปรับตัวอยู่ในตำแหน่งใหม่ ดังนั้น ยิ่งใส่รีเทนเนอร์เป็นประจำสม่ำเสมอจะลดโอกาสที่ฟันล้มกลับสู่ตำแหน่งเดิมได้

ป้องกันไม่ให้คราบพลัคเกาะที่แบร็กเก็ตได้อย่างไร?

วิธีง่ายๆ ช่วยป้องกันการสะสมของคราบพลัค และหินน้ำลาย: 

  1. แปรงฟันอย่างน้อย 3 ครั้งต่อวัน หลังการรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้มีเศษอาหารติดซอกฟัน และแบร็กเก็ต
  2. ควรหลีกเลี่ยงอาหาร เครื่องดื่มที่เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุในขณะที่จัดฟัน ยกตัวอย่างเช่น น้ำอัดลมที่มีน้ำตาลสูง หรืออาหารแข็งเหนียว เช่น คารา เมล หรือลูกอม 
  3. ใช้ไหมขัดฟันทุกวัน แม้ว่าอาจทำได้ยากหลังติดเครื่องมือจัดฟันแล้ว แต่การใช้ไหมขัดฟันนั้นสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งนี้หากคุณประสบปัญหาในการใช้ไหมขัดฟัน สามารถติดต่อเราเพื่อขอคำแนะนำได้
  4. ใช้แปรงซอกฟันคู่กับการแปรงฟัน หลังการรับประทานอาหารทุกครั้ง โดยแปรงซอกฟันนั้นใช้งานไม่ยาก หากเลือกขนาดของแปรงซอกฟันให้เหมาะสมกับช่องว่างระหว่างเครื่องมือจัดฟัน

.

สุขภาพช่องปากกับเหล็กดัดฟัน

การดูแลสุขอนามัยช่องปาก เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก เพื่อรอยยิ้มที่สวยงามตรงตามความต้องการ ภายหลังการจัดฟันเสร็จสิ้น

แม้ว่าการมีเครื่องมือจัดฟันในช่องปากจะส่งผลให้เศษอาหารติดค้าง มีคราบพลัคและหินปูนสะสมในช่องปากได้ง่ายขึ้น ทำความสะอาดได้ยากมากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ และโรคเหงือกอักเสบซึ่งถ้าปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้น แต่ไม่ได้รับการรักษา อาจยิ่งทวีความรุนแรง จนส่งผลให้การจัดฟันใช้ระยะเวลาในการรักษายาวนานขึ้น

อีกทั้งในบางกรณีที่เกิดโรคเหงือกอักเสบรุนแรง อาจจำเป็นต้องถอดเครื่องมือออกชั่วคราว เพื่อทำการรักษาสุขภาพเหงือกและอวัยวะปริทันต์ให้ดีขึ้นก่อน จึงกลับมารักษาจัดฟันต่อได้

6 ปัญหาการเรียงตัวของฟันที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการจัดฟันโลหะ

ฟันซ้อนเก (Overcrowding)

ฟันซ้อนเก เป็นการเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติ เนื่องจากขากรรไกรมีพื้นที่ไม่เพียงพอ ส่งผลให้ฟันขึ้นใหม่เรียงตัวซ้อนทับกัน หากทำความสะอาดไม่ทั่วถึงอาจนำไปสู่ปัญหาช่องปากได้

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับฟัน: ฟันซ้อนเกไม่ได้เกิดขึ้นเพราะฟันของเราใหญ่เกินไปสำหรับขากรรไกร แต่เป็นเพราะความผิดปกติของขากรรไกร หรืออาจเกิดจากพันธุกรรม

เป็นปกติที่ฟันบนและฟันล่างจะมีระยะเหลื่อมกันเล็กน้อย แต่ในภาวะฟันสบลึกนั้นฟันบนมีระยะเหลื่อมที่มากผิดปกติทำให้ฟันบนสบครอบปิดฟันล่าง โดยผู้ป่วยมักจะมาพบทันตแพทย์ด้วยปัญหาฟันหน้าบนยื่น หรือ เหยินออกมา

การมีฟันยื่นมากกว่าปกติ อาจส่งผลกับการออกเสียง หรือ การรับประทานอาหาร เนื่องจากมีการกัดสบฟัน และการบดเคี้ยวที่ผิดปกติ

การยื่นของฟันมักเกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของกระดูกขากรรไกร โดยเฉพาะในขากรรไกรล่าง ภาวะฟันสบลึกนี้อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากอย่างถาวร หรือ ทำให้เกิดฟันสึกรุนแรงจนอาจเป็นเหตุให้สูญเสียฟันได้ นอกจากนี้ ฟันสบลึกยังส่งผลกระทบต่อความสวยงามของรอยยิ้ม และภาพลักษณ์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสภาวะทางจิตใจ และอารมณ์ได้

ผู้ที่มีฟันยื่นมักมีปัญหาเหล่านี้ร่วมด้วย เช่น แนวโค้งของขากรรไกรแคบ พฤติกรรมลิ้นดุนฟันหรือพฤติกรรมการกลืนและหายใจที่ผิดปกติ มีปัญหาการออกเสียง ฝ ฟ และโรคภูมิแพ้

หากเราตรวจพบปัญหาเหล่านี้ได้เร็ว (ตั้งแต่อายุประมาณ 6 ปี) คลินิกทันตกรรมสไมล์บ็อกซ์ของเราสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ โดยการใช้เครื่องมือจัดฟัน เช่น เครื่องมือ EF รวมไปถึงการฝึกกล้ามเนื้อและขากรรไกร หรือ การฝึกหายใจอย่างถูกวิธี

ฟันห่าง หรือ มีช่องว่างระหว่างซี่ฟัน ช่องว่างนี้มักพบได้มากระหว่างฟันคู่หน้าทั้งฟันบนและล่าง มีชื่อเรียกว่า Diastema โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างซี่ฟัน เช่น:

  • ความไม่สมดุลระหว่างขนาดของฟันและขนาดของขากรรไกร
  • มีการยึดเกาะของเนื้อเยื่อยึดเหงือกสูงคั่นระหว่างฟันคู่หน้า (High labial frenum attachment) ในกรณีนี้จึงเหมาะกับการผ่าตัดเนื้อเยื่อยึดเหงือก (Frenectomy) ก่อนการจัดฟันเพื่อปิดช่องว่างระหว่างซี่ฟัน
  • ฟันขึ้นไม่ครบในช่องปาก หรือ ฟันมีขนาดเล็กกว่าปกติ จะสามารถทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันได้
  • พฤติกรรมดูดนิ้วโป้งสมัยเด็กเป็นอีกสาเหตุที่พบได้บ่อยในการทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟัน เนื่องจากเป็นการดันฟันไปข้างหน้าด้วยแรงที่มากกว่าปกติ

ช่องว่าง Diastema ไม่ได้ถูกมองว่าเป็น “ปัญหาทางทันตกรรม” โดยปกติแล้วไม่มีอันตรายและไม่จำเป็นต้องรักษาหรือแก้ไข บางคนมองว่า “Diastema” คือจุดเด่นที่ทำให้รอยยิ้มมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเหมือนกับนักร้องชื่อดัง มาดอนนา

อย่างไรก็ตาม เรามักได้ยินคำบ่นเวลามีเศษอาหารติดตามช่องว่างระหว่างฟันอยู่บ่อยๆ บางคนที่เห็นต่างกับความสวยงามข้างต้นก็สามารถจัดฟันเพื่อปิดช่องว่างระหว่างฟันได้

ฟันสบคร่อม หรือ ฟันสบกันแบบไขว้ คือ การที่ฟันหน้าล่างสบคร่อมฟันหน้าบน โดยคนไข้มักจะมาพบทันตแพทย์ด้วยปัญหา “คางของฉันดูยื่น” “ฟันหน้าของฉันสบกระแทกกัน” หรือ “ฉันใช้ฟันหลังเคี้ยวไม่ถนัด”

ฟันสบคร่อมสามารถเกิดได้ทั้งฟันหน้าและฟันหลัง ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา โดยมักเกิดจากความผิดปกติของฟัน หรือ ความผิดปกติของกระดูกขากรรไกร หรือ เกิดร่วมกันทั้งคู่ ซึ่งสาเหตุของความผิดปกติเหล่านี้อาจมาจากโครงสร้างของกระดูก พฤติกรรมช่องปากที่ผิดปกติ ปัญหาระบบทางเดินหายใจ หรือ ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

หากไม่ทำการแก้ไขภาวะฟันสบคร่อม ไม่เพียงแต่จะมีผลกระทบต่อฟันเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดปัญหาเกี่ยวกับขากรรไกรได้เช่นกัน โดยกล้ามเนื้อบดเคี้ยวจะทำงานไม่สม่ำเสมอทำให้เกิดความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร ซึ่งอาจนำไปสู่อาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อขากรรไกร คอ บ่า และไหล่ได้

ฟันกัดเบี้ยว คือ ภาวะที่เส้นกึ่งกลางระหว่างฟันซี่กลางบนและล่าง ไม่ตรงกับเส้นกึ่งกลางใบหน้า หรือ เส้นกึ่งกลางระหว่างฟันซี่กลางบน ไม่ตรงกับเส้นกึ่งกลางระหว่างฟันซี่กลางล่าง จึงส่งผลให้ฟันและใบหน้าไม่สมมาตร

ภาวะฟันกัดเบี้ยว หรือ ฟันซี่กลางไม่ตรงกันสามารถเกิดได้จากหลากหลายปัจจัย เช่น การสูญเสียฟัน ลักษณะทางพันธุกรรม อุบัติเหตุบริเวณใบหน้า หรือ การรับการรักษาที่ไม่เหมาะสม สำหรับการแก้ไขปัญหานี้จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแต่ละเคส แนวทางการรักษาประกอบไปด้วย การแก้ไขโดยการจัดฟัน การบูรณะฟันให้มีรูปร่างสวยงาม หรือ กระทั่งการผ่าตัดขากรรไกร

ฟันสบเปิด คือ การมีช่องว่างระหว่างฟันหน้าบนและล่างในขณะที่ฟันหลังสบสนิท หรือหมายถึง ฟันหน้าบนและล่างไม่สามารถสัมผัสแตะกันได้แม้ปิดปาก ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น เป็นลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม การเจริญเติบโตของขากรรไกรที่ผิดปกติ พฤติกรรมดูดนิ้วโป้ง หรือ ลิ้นดุนฟัน เป็นต้น โดยการสบฟันที่ผิดปกตินี้อาจทำให้เกิดปัญหาในการบดเคี้ยวอาหาร การพูด และอาการปวดขากรรไกร

เลือกคลินิกทันตกรรมสไมล์บ็อกซ์! ให้เราดูแลการจัดฟันของคุณ ด้วยความเชี่ยวชาญ และความใส่ใจระดับสูงสุด

ติดต่อเราวันนี้